การพัฒนาอย่างยั่งยืน

หน้าหลัก >> การพัฒนาอย่างยั่งยืน

การพัฒนาอย่างยั่งยืน
การขับเคลื่อนธุรกิจเพื่อความยั่งยืน
 ตลอดระยะเวลากว่า 40 ปี ที่บริษัท ทีบีเอสพี จํากัด (มหาชน) ซึ่งจัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2521 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตเอกสารปลอดการปลอมแปลง เช็ค ตราสารสําคัญทางการเงิน รวมทั้งแบบฟอร์มต่างๆ ของธนาคาร และในปัจจุบัน บริษัทได้ปรับการดําเนินธุรกิจและมุ่งเน้นในการดําเนินธุรกิจผลิตบัตรครบวงจร ตั้งแต่ขั้นตอนออกแบบกราฟิก (Graphic Design) ทดลองทําต้นแบบ (Prototype) ผลิตบัตร (Production) ลงข้อมูลบัตร รวมถึงจัดส่งให้ลูกค้าหรือ เจ้าของบัตรได้โดยตรง ผ่านช่องทางต่างๆ โดยให้บริการบัตรพลาสติกประเภทต่างๆ ประกอบด้วย บัตรสมาร์ทการ์ด (Smart Card) หรือ บัตรแบบชิปการ์ด (Chip Card) บัตรเพย์เม้นท์การ์ด (Payment Card) บัตรสมาชิก (Member Card) และบัตรแทนเงินสด อีกทั้งยังให้บริการด้านการออกแบบและดีไซด์ พร้อมเทคนิคต่างๆ ลงบนบัตรซึ่งปัจจุบัน บริษัท มีพื้นที่ในการดําเนินการผลิต 1 แห่งคือ โรงงานปู่เจ้าสมิงพราย
 นอกจากนี้บริษัทยังได้มีการปรับเปลี่ยนวิสัยทัศน์ พันธกิจ และค่านิยมขององค์กรให้สอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับบริษัทในเครือ รวมทั้งการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์และปรับปรุงระบบบริหารจัดการของบริษัทเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการพร้อมกับขยายฐานลูกค้าใหม่ โดยการมองหาคู่ความร่วมมือกับสถาบันวิจัยและพัฒนา (Research & Development) ทั้งในประเทศและต่างประเทศในการพัฒนาวัตถุดิบ เทคนิคการพิมพ์ รูปแบบฉลาก และบรรจุภัณฑ์ ให้มีความแตกต่างและทันสมัยมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังมุ่งเน้นการสร้างวัฒนธรรมและเพิ่มศักยภาพของบุคลากรในองค์กร โดยนํานวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้ เพื่อให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ใหม่ของบริษัทในการเป็นผู้นําระดับสากล ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อการป้องกันการปลอมแปลงที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยอย่างครบวงจรและยั่งยืน (To be the regional trusted leader in information security solutions with technology integration.)
นโยบายความรับผิดชอบต่อสังคม
1. ส่งเสริมการดำเนินกิจกรรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเพื่อลดความเสี่ยงจากการเกิดอุบัติเหตุในการทํางานทั้งกับพนักงานและคู่ค้าธุรกิจ
2. ส่งเสริมการดำเนินกิจกรรมลดผลกระทบด้านทรัพยากรสิ่งแวดล้อม เพื่อดําเนินธุรกิจอย่างเป็นมิตรกับชุมชน
3. ส่งเสริมการดำเนินกิจกรรมด้านเศรษฐกิจภายในชุมชนโดยการสร้างงาน และส่งเสริมอาชีพให้กับพนักงาน และชุมชน
4. ส่งเสริมการดำเนินกิจการด้วยหลักการกํากับดูแลกิจการที่ดี ซึ่งประกอบด้วยอุดมการณ์บริษัท หลักจรรยาบรรณและบรรษัทภิบาล รวมถึงต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันทุกรูปแบบ โดยมุ่งเน้นสื่อสาร ทั่วทั้งองค์กร คู่ค้าทางธุรกิจ และผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholder) ทุกภาคส่วน
แผนกลยุทธ์และเป้าหมายระยะยาว 5 ปี (2565 – 2569)
 บริษัทได้มีการวางแผนกลยุทธ์และเป้าหมายขององค์กร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงที่สําคัญ ในการเป็นผู้นําระดับประเทศในการดําเนินธุรกิจจัดจําหน่ายบัตร การให้บริการลงข้อมูล พร้อมโซลูชั่นต่างๆ ครบวงจร ให้แก่ สถาบันการเงินและกลุ่มลูกค้าต่างๆ ที่ใช้ประโยชน์จากระบบสมาชิก การเก็บข้อมูล การยืนยันตัวตน การชําระเงินที่ประยุกต์ใช้ร่วมกับบัตร ด้วยระบบบัตรที่มีความปลอดภัยสูงตามมาตรฐานสากลที่มีโซลูชั่นที่หลากหลาย ให้ทั้งลูกค้าองค์กร SME และบุคคลทั่วไป โดยนําเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการดําเนินธุรกิจ มุ่งสู่การดําเนินธุรกิจรูปแบบใหม่ อีกทั้งมองหาช่องทางการขยายฐานลูกค้าใหม่และคู่ความร่วมมือ เพื่อการเติบโตทางธุรกิจ เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการทรัพยากรควบคู่ไปกับการสร้างคุณค่าหลักขององค์กรสร้างสรรค์และพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี อีกทั้งยังมีความเป็นเลิศในการปฏิบัติงาน และมุ่งมั่นสู่การเป็นองค์กรที่มีความสุจริตโปร่งใส มีความเป็นมืออาชีพ อีกทั้งดูแลและห่วงใยชุมชนและสังคมรอบข้าง ตลอดจนผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน เพื่อสร้างให้เกิดคุณค่าร่วมกันอย่างยั่งยืน
การปฏิบัติตามหลักการสากลของ UN Global Compact
 บริษัทได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย (Global Compact Network Thailand หรือ GCNT) ตั้งแต่ปี 2545 ซึ่งจะมีส่วนร่วมต่อการผลักดันการดําเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนา ที่ยั่งยืนในประเทศไทย โดยบริษัทยังน่าหลักสากลสิบประการมาปรับใช้ในการดำเนินธุรกิจและนโยบายความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งครอบคลุมประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน การปฏิบัติต่อแรงงาน สิ่งแวดล้อม และการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชัน โดยมีรายละเอียดดังนี้
ประเด็น
หลักการสากลสิบประการ (Ten Principles)
แนวทางการดำเนินงานของบริษัท
ด้านสิทธิมนุษยชน
1. สนับสนุนและเคารพในเรื่องการปกป้องสิทธิ มนุษยชนที่ประกาศในระดับสากลตามขอบเขตอำนาจที่อำนวย
2. หมั่นตรวจตราดูแลไม่ให้ธุรกิจของตนเข้าไป มีส่วนเกี่ยวข้องกับการล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชน
แนวทางการดำเนินงานของบริษัท
1. กำหนดเรื่องการเคารพสิทธิมนุษยชนไว้ในจรรยาบรรณของบริษัท
2. จัดให้มีช่องทางสื่อสารและระบบรับข้อร้องเรียนและแจ้ง เบาะแส(Whistleblower) ในการกระทําที่ไม่ถูกต้องหรือ ฝ่าฝืนกฎหมาย โดยกําหนดให้มีมาตรการคุ้มครองผู้ร้องเรียนและบรรเทาความเสียหายให้กับผู้รายงาน
ด้านการปฏิบัติต่อแรงงาน
1. ส่งเสริมและสนับสนุนเสรีภาพในการรวมกลุ่มของแรงงานและการรับรองสิทธิในการร่วมเจรจาต่อรองอย่างจริงจัง
2. ขจัดการใช้แรงงานที่มีอายุต่ำกว่าเกณฑ์และใช้การบังคับในทุกรูปแบบ
3. ยกเลิกการใช้แรงงานเด็กอย่างจริงจัง
4. ขจัดการเลือกปฏิบัติในการจ้างแรงงานและประกอบอาชีพ
แนวทางการดำเนินงานของบริษัท
1. กําหนดเรื่องการปฏิบัติต่อพนักงานในจรรยาบรรณการคําเนินธุรกิจของบริษัทโดยไม่เลือกปฏิบัติและกีดกันแรงงาน
2. มีนโยบายไม่รับแรงงานเด็กและบังคับใช้แรงงาน
3. สนับสนุนการจัดจ้างคนพิการ
4. รับฟังความคิดเห็นของพนักงานโดยจัดให้มีช่องทางใน การสื่อสาร กล่องรับความคิดเห็นและระบบรับข้อร้องเรียน และแจ้งเบาะแส
ด้านสิ่งแวดล้อม
1. สนับสนุนแนวทางการระแวดระวังในการดําเนินงานที่อาจจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
2. อาสาจัดทํากิจกรรมที่ส่งเสริมการยกระดับความรับผิดชอบต่อสังคม
3. ส่งเสริมการพัฒนาและการเผยแพร่เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
แนวทางการดำเนินงานของบริษัท
1. กําหนดการดําเนินธุรกิจที่คํานึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยมีนโยบายการอนุรักษ์และลดการใช้ทรัพยากรลดของเสีย รวมถึง สร้างจิตสํานึกในกาดูแลสิ่งแวดล้อมในสถานที่ทํางานและบริเวณชุมชนรอบข้าง
2. จัดให้มีระบบบําบัดน้ำเสียเพื่อควบคุมผลกระทบจากกระบวนการผลิตและจัดทํารายงานต่อหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง
ด้านการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชัน
1. ดําเนินงานในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน รวมถึงการให้ การเสนอให้ และการติดสินบนในทุกรูปแบบ
แนวทางการดำเนินงานของบริษัท
1. ประกาศเจตนารมณ์แนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชันของบริษัทและบริษัทย่อย
2. กําหนดและประกาศนโยบายการต่อต้านการทุจริต คอร์รัปชัน ให้ถือปฏิบัติทั่วทั้งองค์กร
3. จัดให้มีช่องทางในการสื่อสารและระบบรับข้อร้องเรียนและ แจ้งเบาะแสในการกระทําที่ไม่ถูกต้องหรือฝ่าฝืนกฎหมาย โดยกําหนดให้มีมาตรการคุ้มครองผู้ร้องเรียนและบรรเทาความเสียหายให้กับผู้รายงาน
4. บริษัทได้จัดทำจรรยาบรรณคู่ธุรกิจ (Suppliers Code of Conduct) เพื่อให้คู่ธุรกิจและคู่ค้าของบริษัทมีความเข้าใจที่ถูกต้องและนําไปใช้เป็นมาตรฐานในการดําเนินธุรกิจร่วมกัน
การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสียในห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ
 การระบุผู้มีส่วนได้เสีย บริษัทจะพิจารณาจากขอบเขตการดําเนินงานของบริษัท โดยการวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่า และระบุผู้มีส่วนได้เสียภายในและภายนอกองค์กรที่ได้รับผลกระทบหรือส่งผลกระทบต่อการดําเนินงานของบริษัท และพิจารณาถึงความสําคัญของผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่าง ๆ ซึ่งสามารถระบุได้ดังนี้
พนักงาน
คู่ค้า (ผู้รับเหมา/ผู้ขาย)
ลูกค้า
นักลงทุน/ผู้ถือหุ้น
คู่ความร่วมมือทางธุรกิจ
เจ้าหนี้/เจ้าของเงินทุน
หน่วยงานกำกับ
ชุมชนและสังคม
 ในปี 2564 บริษัทได้จัดให้มีการสานสัมพันธ์ร่วมกับกลุ่มตัวแทนผู้มีส่วนได้เสีย ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐาน AA1000 Stakeholder Engagement Standard (AA1000SES) และ GRI Standards ทั้งนี้ข้อเสนอแนะ ข้อคิดเห็นจาก ผู้มีส่วนได้เสีย จะถูกนําไปเป็นปัจจัยหนึ่งในขั้นตอนการประเมินประเด็นความยั่งยืนที่สําคัญของบริษัท อีกทั้งในอนาคต บริษัทจะนําความคิดเห็นและข้อเสนอแนะดังกล่าวไปจัดทําแผนการสร้างความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อปรับปรุง การดำเนินงาน และรายงานความก้าวหน้าในการดําเนินงานต่อคณะกรรมการบริษัทต่อไป
ผลการประเมินประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน
บริษัท ได้จัดกลุ่มประเด็นสําคัญด้านความยั่งยืนออกเป็น 3 กลุ่ม เพื่อกําหนดแนวทางในการบริหารจัดการ ดังนี้
มิติเศรษฐกิจและธรรมาภิบาล
 การกำกับดูแลกิจการ
 การบริหารจัดการห่วงโซ่คุณค่า
 การบริหารจัดการความสัมพันธ์ลูกค้า
 ความเสี่ยงและการจัดการภาวะวิกฤต
 นวัตกรรมทางธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม
มิติสิ่งแวดล้อม
 กลยุทธ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการบริหารจัดการพลังงาน
 นโยบายและระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
มิติสังคม
 อาชีวอนามัยและความปลอดภัย
 การพัฒนาทุนมนุษย์ขององค์กร
 การมีส่วนร่วมต่อชุมชน
เป้าหมายการจัดการด้านความยั่งยืน
 บริษัทมุ่งมั่นในการเป็นผู้นําในการผลิตและจําหน่ายสิ่งพิมพ์ป้องกันการปลอมแปลงทุกชนิด โดยมีพันธกิจในการยกระดับความเชื่อมั่นและความยั่งยืนให้กับผู้มีส่วนได้เสีย ในฐานะที่เป็นผู้มีส่วนสําคัญในการดําเนินธุรกิจ โดยในอนาคตบริษัท วางแผนการกําหนดกลยุทธ์และทิศทางการดําเนินงานด้านความยั่งยืนขององค์กร การบริหาร จัดการด้านความยั่งยืน เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ที่มุ่งเน้นการสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน ดังนี้
มิติเศรษฐกิจและธรรมาภิบาล
ทิศทางกลยุทธ์
เป้าหมายในการดำเนินงาน
การสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
ทิศทางกลยุทธ์
เสริมสร้างกลไกการกำกับดูแลและส่งเสริมความโปร่งใสทั่วทั้งองค์กร
เป้าหมายในการดำเนินงาน
  • ปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องการกํากับดูแลกิจการอย่างเคร่งครัด
  • การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของบริษัท
  • ไม่มีข้อร้องเรียนจากผู้มีส่วนได้เสีย
การสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
ทิศทางกลยุทธ์
ยกระดับการจัดการห่วงโซ่คุณค่าโดยพิจารณาจากผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมสังคม และเศรษฐกิจ
เป้าหมายในการดำเนินงาน
  • คู่ค้าและคู่ความร่วมมือทางธุรกิจปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ และกฎหมายอย่างเคร่งครัด
  • การประเมินความเสี่ยงของคู่ค้าต่อเรื่องสิทธิมนุษยชน
  • การประเมินคู่ค้าและคู่ความร่วมมือทางธุรกิจ โดยใช้เกณฑ์ด้าน ESG
การสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
ทิศทางกลยุทธ์
สร้างความพึงพอใจของลูกค้าในการปรับปรุงผลิตภัณฑ์และบริการ
เป้าหมายในการดำเนินงาน
  • ความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อภาพรวมการดำเนินงานของบริษัทเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
  • การตอบสนองต่อความต้องการและความคาดหวังของลูกค้าอย่างทันท่วงที
การสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
ทิศทางกลยุทธ์
เสริมสร้างการบริหารความเสี่ยงและระบบการควบคุมภายในและจัดลําดับความสำคัญของความเสี่ยง
เป้าหมายในการดำเนินงาน
  • การนําระบบบริหารความเสี่ยงไปใช้ทั่วทั้งองค์กร
  • พนักงานและบุคลากรได้รับการฝึกอบรมเรื่องการบริหารความเสี่ยง
  • พนักงานและบุคลากรได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับความเสี่ยงในการรักษาข้อมูลความลับ
  • ไม่มีกรณีการละเมิดการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
การสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
ทิศทางกลยุทธ์
การนําเทคโนโลยีขั้นสูงสู่การปรับปรุงรูปแบบ การดำเนินธุรกิจ
เป้าหมายในการดำเนินงาน
  • การลงทุนในการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์และบริการ
  • การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่ออกแบบมาเพื่อกลุ่มผู้ด้อยโอกาส
การสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
มิติสิ่งแวดล้อม
ทิศทางกลยุทธ์
เป้าหมายในการดำเนินงาน
การสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
ทิศทางกลยุทธ์
การพิจารณาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และบริหารจัดการพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
เป้าหมายในการดำเนินงาน
  • ลดปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้า
  • การนําวัสดุรีไซเคิลมาใช้ในการผลิต เพื่อลดปริมาณ ของเสียทางอิเล็กทรอนิกส์
  • การให้พนักงานมีส่วนร่วมต่อกิจกรรมประหยัดพลังงานและจัดการของเสีย
  • การลดความเข้มข้นการปล่อยก๊าซคาร์บอน (carbon intensity)
การสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
ทิศทางกลยุทธ์
การกำหนดนโยบายและระบบการจัดการ เพื่อลดความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม
เป้าหมายในการดำเนินงาน
  • ไม่มีข้อร้องเรียนด้านสิ่งแวดล้อมจากบริเวณใกล้เคียง
  • ไม่มีกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อม
การสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
มิติสังคม
ทิศทางกลยุทธ์
เป้าหมายในการดำเนินงาน
การสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
ทิศทางกลยุทธ์
การยกระดับคุณภาพชีวิตและความปลอดภัยในที่ทํางานของพนักงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง
เป้าหมายในการดำเนินงาน
  • สนับสนุนให้พนักงานมีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีจากการทํางาน
  • ลดอุบัติเหตุและอัตราการเสียชีวิตจากการทํางาน
  • ฝึกอบรมคู่ค้าและคู่ความร่วมมือทางธุรกิจด้านความปลอดภัยในการทํางานก่อนปฏิบัติงาน
  • การควบคุมมลพิษทางเสียงอย่างมีประสิทธิภาพ
การสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
ทิศทางกลยุทธ์
การปฏิบัติต่อพนักงานทุกคนอย่างเท่าเทียม
เป้าหมายในการดำเนินงาน
  • การรักษาและเพิ่มระดับความพึงพอใจของพนักงานที่มีต่อบริษัท
  • วางแผนอัตรากำลังคนอย่างมีประสิทธิภาพ
  • การเพิ่มทักษะ ความรู้ และความสามารถของ พนักงาน อย่างต่อเนื่อง
  • ไม่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน
การสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
ทิศทางกลยุทธ์
การรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชนและสร้างความน่าเชื่อถือต่อภาพลักษณ์ของบริษัท
เป้าหมายในการดำเนินงาน
  • สนับสนุนการจ้างงานคนในท้องถิ่น
  • การรักษาและเพิ่มระดับความพึงพอใจของชุมชนที่มีต่อการดำเนินงานของบริษัท
  • สนับสนุนการลงทุนเพื่อชุมชนและสังคม
การสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
ภาพรวมการดําเนินการและการจัดการประเด็นด้านความยั่งยืนที่สําคัญ
 บริษัทตระหนักและเห็นถึงความสําคัญต่อการส่งเสริมการพัฒนาความยั่งยืน จึงมุ่งเน้นการดําเนินธุรกิจที่ สอดคล้องกับหลักการสากลสิบประการ (Ten Principles) ของ UN Global Compact และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของสหประชาชาติ (UN) โดยกําหนดกลยุทธ์และแนวทางปฏิบัติในด้านต่าง ๆ อย่างเหมาะสมเพื่อให้การดําเนินงานด้านความยั่งยืนของบริษัทเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย
มิติ
ผลของการดำเนินงาน
เศรษฐกิจและธรรมาภิบาล
  • ไม่พบข้อร้องเรียนที่เกิดจากการไม่ปฏิบัติตามหลักการกํากับดูแลกิจการที่ดี
  • จํานวนเหตุการณ์ที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย 0 ครั้ง
  • ไม่มีมูลค่าของโทษปรับที่เกิดขึ้น
  • ไม่พบจํานวนกรณีทุจริตคอร์รัปชันที่เกิดขึ้น
  • จํานวนคู่ค้าทั้งหมด 142 ราย
  • จํานวนคู่ค้ารายใหม่ทั้งหมด 5 ราย
  • ความพึงพอใจของลูกค้าโดยรวมเฉลี่ย 4.2 คะแนน
  • ไม่พบเหตุการณ์ที่ถูกโจมตีทางไซเบอร์
  • ไม่พบเหตุการณ์ที่ข้อมูลลูกค้ารั่วไหล
สิ่งแวดล้อม
  • ไม่พบกรณีที่บริษัท ไม่ปฏิบัติ ละเมิด กฎหมายหรือข้อบังคับด้านสิ่งแวดล้อม
  • ไม่พบข้อร้องเรียนด้านสิ่งแวดล้อมจากการดำเนินงานของบริษัท
  • ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขอบเขตที่ 1 28.39 tCO2e
  • ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขอบเขตที่ 2 1.03 tCO2e
  • ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขอบเขตที่ 3 0.0021 tCO2e
  • รวมปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 29,4221 tCO2e
  • ปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้า 2,060 kWh
  • ปริมาณการใช้พลังงานเชื้อเพลิงดีเซล 2,355.01 ลิตร
  • ปริมาณการใช้เชื้อเพลิงเบนซิน 287.06 ลิตร
  • ปริมาณการใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) 1,142.86 kg
  • ปริมาณการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ 1,297 kWh
  • ปริมาณการใช้พลังงานที่ลดได้ 763 kWh
  • ปริมาณการใช้น้ำ 4,135 ลิตร
  • ปริมาณการใช้น้ำที่ลดลง 2,215 ลิตร
  • ปริมาณน้ำทิ้ง 3,308,00 ลิตร
  • ปริมาณนํ้าทิ้งที่ลดลง 2,624,20 ลิตร
  • ปริมาณของเสียทั้งหมด 11.90 ตัน
  • ปริมาณของเสียที่ไม่เป็นอันตราย 6.10 ต้น
  • ปริมาณของเสียที่เป็นอันตราย 5.80 ตัน
สังคม
  • หน่วยงานที่ถูกประเมินความเสี่ยงด้านสภาพแวดล้อมในการทํางานจํานวน 16 หน่วยงาน
  • จํานวนพนักงานทั้งหมด 182 คน
  • พนักงานเข้าใหม่ร้อยละ 18
  • พนักงานพ้นสภาพร้อยละ 58
  • จํานวนชั่วโมงฝึกอบรมเฉลี่ย 5.34 ชั่วโมง/คน/ปี