หน้าหลัก >> บรรษัทภิบาล >> นโยบายต่อต้านคอร์รัปชั่น
นโยบายต่อต้านคอร์รัปชั่น (Anti-Corruption Policy)
นโยบายต่อต้านคอร์รัปชั่น ( Plus Tech Innovation Anti-corruption Policy)
บริษัท พลัส เทค อินโนเวชั่น จํากัด (มหาชน) มีอุดมการณ์ในการดําเนินธุรกิจอย่างมีคุณธรรม โดยยึดมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคมและผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มตามหลักจรรยาบรรณและบรรษัทภิบาลที่ดี ตลอดจนนโยบายและแนวปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆของบริษัท
เพื่อให้มั่นใจว่า บริษัทมีนโยบายการกําหนดความรับผิดชอบ แนวปฏิบัติ และข้อกําหนดในการดําเนินงานที่เหมาะสมเพื่อป้องกันการคอร์รัปชั่นในทุกกิจกรรมทางธุรการของบริษัท และเพื่อให้การตัดสินใจและการดําเนินการทางธุรกิจที่อาจมีความเสี่ยงด้านการทุจริตคอร์รัปชั่นได้รับการพิจารณา และปฏิบัติอย่างรอบคอบ บริษัทจึงได้จัดทํา “นโยบายต่อต้านคอร์รัปชั่น” เป็นลายลักษณ์อักษรขึ้นเพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจนในการดําเนินธุรกิจ และพัฒนาสู่องค์กรแห่งความยั่งยืน
นโยบายต่อต้านคอร์รัปชั่น
ห้ามกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัท ดําเนินการหรือยอมรับการคอร์รัปชั่นในทุกรูปแบบทั้งทางตรง หรือทางอ้อม โดยครอบคลุมถึงทุกธุรกิจและทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ และให้มีการสอบทางปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านคอร์รัปชั่นนี้อย่างสม่ำเสมอ ตลอดจนทบทวนแนวทางการปฏิบัติและข้อกําหนดในการดําเนินการให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ ระเบียบ และข้อกําหนดของกฎหมาย
แนวทางการปฏิบัติ
1. กรรมการบริษัท ผู้บริหาร และพนักงานบริษัททุกระดับต้องปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านคอร์รัปชั่นและจรรยาบรรณบริษัท โดยต้องไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับเรื่องคอร์รัปชั่นไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม
2. บริษัทมีนโยบายที่จะไม่ลดตําแหน่ง ลงโทษ หรือให้ผลทางลบต่อพนักงานที่ปฏิเสธการคอร์รัปชัน แม้ว่าการกระทํานั้นจะทําให้บริษัทสูญเสียโอกาสทางธุรกิจ
3. พนักงานบริษัทไม่พึงละเลยหรือเพิกเฉย เมื่อพบเห็นการกระทําที่เข้าข่ายคอร์รัปชั่นที่เกี่ยวข้องกับบริษัทต้องแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาหรือบุคคลที่รับผิดชอบทราบ และให้ความร่วมมือในการตรวจสอบข้อเท็จจริงต่างๆ หากมีข้อสงสัย หรือข้อซักถามให้ปรึกษากับผู้บังคับบัญชา หรือบุคคลที่กำหนดให้ทำหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการติดตามการปฏิบัติตามจรรยาบรรณบริษัท ผ่านช่องทางต่างๆ ที่กําหนดไว้
4. บริษัทจะให้ความคุ้มครองแก่ผู้รายงาน ผู้ร้องเรียนหรือผู้ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบข้อเท็จจริง ตามมาตรการคุ้มครองผู้ร้องเรียน และบรรเทาความเสียหายให้กับผู้รายงาน ผู้ร้องเรียนหรือผู้ให้ความร่วมมือในการรายงานการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามจรรยาบรรณ และบรรษัทภิบาลผ่านทางช่องทางการรับข้อร้องเรียน (Whistleblower)
5. ผู้กระทําคอร์รัปชั่นเป็นการกระทําผิดจรรยาบรรณบริษัทซึ่งจะต้องได้รับการพิจารณาทางวินัยตามระเบียบที่บริษัทกําหนดไว้ นอกจากนี้อาจได้รับโทษตามกฎหมาย หากเป็นการกระทําที่ผิดกฎหมาย
6. บริษัทตระหนักถึงความสําคัญในการเผยแพร่ให้ความรู้และทําความเข้าใจกับบุคคลอื่นที่ต้องปฏิบัติหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับบริษัท หรืออาจเกิดผลกระทบต่อบริษัทในเรื่องที่ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามนโยบายต่อต้านคอร์รัปชั่นนี้
7. บริษัทดําเนินธุรกิจโดยมุ่งมั่นที่จะสร้างและรักษาวัฒนธรรมองค์กรที่ยึดมั่นว่าคอร์รัปชั่นเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ ทั้งการทําธุรกรรมกับภาครัฐและภาคเอกชน
ข้อกำหนดในการดำเนินการ
1. นโยบายต่อต้านคอร์รัปชั่นนี้ครอบคลุมไปถึงกระบวนการบริหารงานบุคคล ตั้งแต่การสรรหาหรือการคัดเลือกบุคลากร การเลื่อนตําแหน่ง การฝึกอบรม การประเมินผลการปฏิบัติงานพนักงาน และการให้ผลตอบแทนโดยกําหนดให้ผู้บังคับบัญชาทุกระดับสื่อสารทําความเข้าใจกับพนักงาน เพื่อใช้ในกิจกรรมทางธุรกิจที่อยู่ในความรับผิดชอบ และควบคุมดูแลการปฏิบัติให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
2. การดําเนินการใดๆ ตามนโยบายต่อต้านคอร์รัปชั่นให้ใช้แนวปฏิบัติตามที่กําหนดไว้ในคู่มือจรรยาบรรณบริษัท คู่มือบรรษัทภิบาล นโยบายและแนวปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆ รวมทั้งระเบียบและคู่มือปฏิบัติงานของบริษัทที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนแนวทางปฏิบัติอื่นใดที่บริษัทจะกําหนดขึ้นต่อไป
3. เพื่อความชัดเจนในการดําเนินการในเรื่องที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดคอร์รัปชั่น กรรมการบริษัท ผู้บริหาร และพนักงานบริษัททุกระดับต้องปฏิบัติด้วยความระมัดระวังในเรื่องดังต่อไปนี้
3.1 การให้ มอบ หรือรับของกํานัล การเลี้ยงรับรอง ให้เป็นไปตามที่กําหนดในคู่มือจรรยาบรรณและบรรษัทภิบาล และเพื่อสร้างบรรทัดฐานที่ดีในการดําเนินธุรกิจ บริษัทได้กําหนดนโยบายงดรับของขวัญในช่วงเทศกาลอันเป็นประเพณีนิยมหรือโอกาสอื่นใด ไว้ดังนี้
3.1.1 การรับสิ่งของ หรือประโยชน์อื่นใด: เพื่อรักษาไว้ซึ่งสัมพันธภาพอันดีระหว่างบุคคลหรือระหว่างองค์กร บริษัทอนุโลมให้กระทําได้โดยมีมูลค่าไม่เกิน 3,000 บาท โดยมอบหมายให้ผู้บริหารระดับผู้จัดการแผนกขึ้นไปเป็นผู้แทนในการรับมอบ เพื่อรวบรวมนําไปเป็นประโยชน์แก่บริษัทต่อไป
– ของชําร่วย เช่น ปฏิทิน พวงกุญแจ สมุดบันทึก ฯลฯ ที่มีตราสัญลักษณ์ขององค์กรนั้นระบุไว้ และหรืออาหารที่เน่าเสียได้ง่าย บริษัทอนุโลมให้รับได้โดยต้องมีมูลค่าไม่เกิน 1,000 บาท โดยมอบหมายให้ผู้บริหารระดับผู้จัดการแผนกขึ้นไป เป็นผู้แทนในการรับมอบ และมีอํานาจในการพิจารณาแจกจ่ายของชําร่วยนั้นให้แก่พนักงาน และต้องรายงานให้ผู้บังคับบัญชาระดับสูงรับทราบ
– การขอสนับสนุนในรูปแบบของเงินหรือสิ่งของ สามารถกระทําได้ในลักษณะองค์กรกับองค์กรโดยต้องได้รับการลงนามอนุมัติจากประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หรือกรรมการผู้จัดการที่มีอํานาจลงนามเท่านั้น
– บริษัทไม่อนุญาตให้พนักงานหรือบุคคลที่มิได้มอบหมายให้รับสิ่งของ
3.2 เงินบริจาคเพื่อการกุศลหรือเงินสนับสนุน การให้หรือรับเงินบริจาคหรือเงินสนับสนุนต้องเป็นไปอย่างโปร่งใส และถูกต้องตามกฎหมาย โดยต้องมั่นใจว่าเงินบริจาคหรือเงินสนับสนุนไม่ได้ ถูกนําไปใช้เพื่อเป็นข้ออ้างในการติดสินบน
3.3 บริษัทมีความเป็นกลางทางการเมือง ไม่เข้าไปมีส่วนร่วมและฝักใฝ่พรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง ไม่นําทรัพยากรบริษัทไปใช้สนับสนุนต่อพรรคการเมืองหรือนักการเมือง
3.4 ความสัมพันธ์ทางธุรกิจและการจัดซื้อจัดจ้างกับภาครัฐ ห้ามให้หรือรับสินบนในการดําเนินธุรกิจทุกชนิด การดําเนินงานของบริษัทและการติดต่องานกับภาครัฐจะต้องเป็นไปอย่างโปร่งใส ซื่อสัตย์ และต้องดําเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
4. ช่องทางร้องเรียน/แจ้งเบาะแส และมาตรการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแส บริษัทเปิดโอกาสให้พนักงานและผู้มีส่วนได้เสีย มีส่วนร่วมในการแสดงความเห็นเพื่อนําไปสู่การพัฒนา/ฝึกอบรม แก้ไขปรับปรุงด้านบริหารจัดการตรวจสอบข้อเท็จจริง ดังนี้
4.1 ช่องทางร้องเรียน และแจ้งเบาะแส
∙ ช่องทางภายใน: พนักงานสามารถร้องเรียนและแจ้งเบาะแสให้ทางระบบรับข้อร้องเรียนและแจ้งเบาะแส (Whistleblower) ผ่านทาง Web intranet
∙ ช่องทางภายนอก: ผู้ร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแสสามารถร้องเรียนและแจ้งเบาะแสได้ทาง Website ของบริษัทผ่านทาง “ระบบร้องเรียนและแจ้งเบาะแส” https://www.plustech.co.th
4.2 มาตรการคุ้มครองผู้แจ้งข้อมูลหรือให้เบาะแส
4.2.1 ผู้ร้องเรียนสามารถเลือกที่จะไม่เปิดเผยตนเองได้หากเห็นว่าการเปิดเผยอาจทําให้เกิดความเสียหายกับตนเอง แต่ต้องระบุรายละเอียดข้อเท็จจริงหรือหลักฐานที่ชัดเจนเพียงพอ ที่แสดงให้เห็นว่ามีเหตุอันควรเชื่อว่ามีการกระทําที่เป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับบริษัท หรือจรรยาบรรณในการดําเนินธุรกิจของบริษัทเกิดขึ้น อย่างไรก็ตามหากเลือกที่จะเปิดเผยตนเองก็จะทําให้ผู้รับข้อร้องเรียนสามารถดําเนินการได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น
4.2.2 ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง บริษัทถือเป็นความลับซึ่งเปิดเผยเท่าที่จําเป็นโดยคํานึงถึงความปลอดภัยและความเสียหายของผู้รายงาน แหล่งที่มาของข้อมูลหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ผู้รับผิดชอบในทุกขั้นตอนจะต้องเก็บรักษาข้อมูลที่ได้รับรู้ในชั้นความลับสูงสุดและไม่เปิดเผยต่อบุคคลอื่น หากฝ่าฝืนถือเป็นการกระทําความผิดวินัย
4.2.3 กรณีผู้ร้องเรียนเห็นว่าตนอาจได้รับความไม่ปลอดภัย หรืออาจเกิดความเดือดร้อนเสียหาย ผู้ร้องเรียนสามารถร้องขอให้บริษัท กําหนดมาตรการคุ้มครองที่เหมาะสม หรือบริษัทอาจกําหนดมาตรการคุ้มครองโดยผู้ร้องเรียนไม่ต้องร้องขอ หากเห็นว่าเป็นเรื่องที่มีแนวโน้มที่จะเกิดความเสียหายหรือความไม่ปลอดภัย
4.2.4 พนักงานที่ปฏิบัติต่อบุคคลอื่นด้วยวิธีการที่ไม่เป็นธรรม เลือกปฏิบัติด้วยวิธีการที่ไม่เหมาะสม หรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลอื่นนั้น อันมีเหตุจูงใจมาจากการที่บุคคลอื่นนั้นได้ร้องเรียนได้แจ้งข้อมูลร้องเรียน หรือให้เบาะแสเกี่ยวกับการทุจริตหรือการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายกฎระเบียบข้อบังคับ หรือจรรยาบรรณให้การดําเนินธุรกิจของบริษัท รวมไปถึงการที่บุคคลอื่นนั้นฟ้องร้องดําเนินคดี เป็นพยานให้ถ้อยคําหรือให้ความร่วมมือใดๆต่อศาล หรือหน่วยงานของรัฐถือเป็นการกระทําความผิดวินัยที่ต้องได้รับโทษ ทั้งนี้อาจได้รับโทษตามที่กฎหมายกําหนดไว้หากเป็นการกระทําผิดตามกฎหมาย
4.2.5 ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนเสียหายจะได้รับการบรรเทาความเสียหายด้วยวิธีการหรือกระบวนการที่มีความเหมาะสมและเป็นธรรม
4.3 ขั้นตอนการตรวจสอบข้อเท็จจริง
4.3.1 ผู้รับข้อร้องเรียนจะเป็นผู้ดําเนินการตรวจสอบและรวบรวมข้อเท็จจริง หรืออาจมอบหมายให้บุคคลหรือหน่วยงานที่ไว้วางใจเป็นผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริง
4.3.2 ผู้รับข้อร้องเรียนหรือผู้ได้รับมอบหมายสามารถเชิญให้พนักงานคนหนึ่งคนใดมาให้ข้อมูล หรือขอให้จัดส่งเอกสารใดๆ ที่เกี่ยวข้องมาเพื่อการตรวจสอบหาข้อเท็จจริง
4.3.3 หากตรวจสอบแล้วพบว่าเป็นความจริง บริษัทจะดําเนินการดังต่อไปนี้
– ในกรณีที่ข้อร้องเรียนเป็นเรื่องที่บริษัทฯกระทําผิดกฎหมาย กฎระเบียบข้อบังคับหรือจรรยาบรรณของบริษัท จะเสนอเรื่องพร้อมความเห็นและกําหนดแนวทางในการปฏิบัติที่ถูกต้องต่อผู้มีอํานาจดําเนินการในบริษัท พิจารณาดําเนินการและในกรณีที่เป็นเรื่องสําคัญ เช่น เป็นเรื่องที่กระทบต่อชื่อเสียง ภาพลักษณ์หรือฐานะทางการเงินของบริษัท ขัดแย้งกับนโยบายในการดําเนินธุรกิจของบริษัท หรือเกี่ยวข้องกับผู้บริหารระดับสูง เป็นต้น ให้เสนอเรื่องต่อคณะกรรมการตรวจสอบหรือคณะกรรมการบริษัทเพื่อพิจารณา
– ในกรณีที่ข้อร้องเรียนให้เกิดความเสียหายต่อผู้ใดผู้หนึ่ง จะเสนอวิธีการบรรเทาความเสียหายที่เหมาะสมและเป็นธรรมให้กับผู้เสียหาย